วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนรู้เรื่อง ระบบนิเวศ

แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนรู้เรื่อง ระบบนิเวศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา 33101 รายวิชาวิทยาศาสตร์
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้สอน นางสาวอารีรัตน์ ชูเส้ง เวลา 3 ชั่วโมง

สาระ 1 สิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต
สาระ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานการเรียนรู้
ว 1.2 : เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ว 2.1 : เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ว 2.2 : เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. สืบค้นข้อมูล และอธิบายระบบนิเวศในท้องถิ่นได้
2. อธิบายองค์ประกอบภายในระบบนิเวศได้
3. อธิบายวัฏจักรของสารในระบบนิเวศได้
4. สืบค้นข้อมูล และอธิบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้
5. ทราบผลของสารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมและรู้จักวิธีการดูแลรักษาและแก้ปัญหา
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สำรวจตรวจสอบระบบนิเวศต่างๆ ในท้องถิ่น อธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศการถ่ายทอดพลังงาน วัฏจักรของสารและการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร
2. สำรวจ วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เสนอแนวคิดในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืน โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งลงมือปฏิบัติในการดูแลรักษา แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม


เนื้อหา
ความรู้
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ และนำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องอย่างยั่งยืนอย่างไร

ทักษะกระบวนการ
ทักษะกระบวนการคิด
ทักษะกระบวนการกลุ่ม
ทักษะการสืบเสาะหาความรู้/ทักษะการทดลอง
ทักษะกระบานการทางวิทยาศาสตร์
คุณลักษณะ / คุณธรรม จริยธรรม
การมีความสุขในการเรียนรู้
มีความรับผิดชอบต่องานและส่วนรวม
มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลย
อย่างสร้างสรรค์
หลักฐาน / ร่องรอย / ภาระชิ่นงาน
แบบทดสอบ
- ใบงาน
- แบบประเมิน กระบวนการกลุ่ม
กิจกรรมการเรียนการสอน
แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และทำแบบทดสอบก่อนเรียน
 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูนำภาพสระน้ำธรรมชาติให้นักเรียนดู และอภิปรายร่วมกัน ถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสระน้ำมีอะไรบ้าง พร้อมสนทนาถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสระน้ำ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่อง ระบบนิเวศ

 ขั้นกิจกรรมพัฒนาทักษะผู้เรียน
1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 – 6 คน ทำแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 และ 2 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว และทำความเข้าใจกับระบบนิเวศใน บ่อน้ำ
2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปผลการทำแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 และ 2
3. นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบนิเวศ และร่วมกันอภิปรายบทบาทหน้าที่ขององค์ประกอบต่างๆ ในระบบนิเวศ ที่ศึกษาจากแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 และ 2
4. นักเรียนแต่ละกลุ่มทำแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่ 3 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็น ผู้ย่อยสลาย
5. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ขององค์ประกอบต่างๆ ในระบบนิเวศ
6. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 – 6 คน ศึกษาข้อมูลการอนุรักษ์ระบบนิเวศ วางแผนการทำโครงงานการแก้ปัญหา การอนุรักษ์ระบบนิเวศโดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาสอดแทรกในการทำโครงงาน
7. นักเรียนนำเสนอหัวข้อโครงงานที่สนใจ วางแผนการทำโครงการ
8. นักเรียนนำเสนอโครงงาน
9. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียน

 ขั้นสรุป
1. นักเรียนแต่ละคนทำแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ในหนังสือ
2. ครูและนักเรียนช่วยกันตรวจคำตอบ และประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน

การวัด / การประเมินผล
1) วิธีการวัดและประเมินผล
1. ตรวจใบงาน
2. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
3. สังเกตพฤติกรรมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนรายบุคคล
5. ตรวจแบบทดสอบ
2) เครื่องมือวัดและประเมิน
1. ใบงาน
2. แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
3. แบบประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
4. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนรายบุคคล
5. แบบทดสอบ
3) เกณฑ์การวัดและประเมินผล
1. ใบงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
2. แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
3. แบบประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
4. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนรายบุคคล
5. แบบทดสอบ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
การจัดบรรยากาศเชิงบวก

ส่งเสริมการทำกิจกรรมต่างๆ กล่าวชมเชยนักเรียนที่ตั้งใจทำกิจกรรม

สื่ออุปกรณ์
1. สื่อสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สัมฤทธิ์มาตรฐาน วิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 1
2. หนังสือแบบเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สสวท.
3. ใบงานที่ 1.1 การรักษาสมดุลระบบนิเวศ
4. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ www.aksorn.com/Lib/s/Sci_01
บันทึกหลักการสอน
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

(...................................................)
นางสาวอารีรัตน์ ชูเส้ง